top of page

หลักกสิกรรมธรรมชาติ ตอน ‘เกษตรกรรม’ ต่างจาก ‘กสิกรรม’ อย่างไร

ที่มา : หนังสือการพัฒนาตามหลักกสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง



คำว่า กสิกรรม แปลว่า การเพาะปลูกไถหว่าน

เป็นอารยธรรมของการพัฒนาการผลิตสร้างสรรค์และแบ่งปันกัน

หลักกสิกรรมธรรมชาติ ตอน ‘เกษตรกรรม’ ต่างจาก ‘กสิกรรม’ อย่างไร

ส่วน เกษตรกรรม แปลว่า กิจกรรมเพื่อความร่ำรวย (รากศัพท์ เกษตรแปลว่ารวย) เราจึงแปล Agriculture ว่ามั่งคั่งร่ำรวย โดยลอกเลียนความหมายจากวัฒนธรรมตะวันตก


หลักกสิกรรมธรรมชาติ ตอน ‘เกษตรกรรม’ ต่างจาก ‘กสิกรรม’ อย่างไร

เพราะผู้ดูแลการเพาะปลูกในเมืองหนาวจะรวยมาก มีที่ดินเป็นพันเป็นหมื่นไร่ มีเครื่องจักรที่ช่วยทำพืชไร่ได้หลายหมื่นไร่ คนขับเครื่องจักรคนเดียวเพื่อเก็บผลผลิตเป็นพันไร่ มีระบบวางท่ออัตโนมัติต่างๆ ฉีดปุ๋ยด้วยเครื่องยิงเจ็ทเข้าท่อน้ำ เหล่านี้คือวิถีเกษตรกรรม


หลักกสิกรรมธรรมชาติ ตอน ‘เกษตรกรรม’ ต่างจาก ‘กสิกรรม’ อย่างไร

แต่กสิกรรมนั้นต่างออกไป เราใช้คนเดินหว่านไถ ทำงานกับควาย ทำงานร่วมกันเป็นสังคม แลกเปลี่ยนแรงงานการด้วยการลงแขกลงขัน


แต่เมื่อชาวนาส่งลูกไปเรียนสูงๆ พอกลับบ้านมาก็อยากทำให้เกษตรกรไทยเป็นเหมือนฝรั่ง เพราะเห็นว่าวิถีดั้งเดิมนั้นเชย ล้าสมัย


แต่ลืมไปว่าบ้านเราผลิตเครื่องจักรไม่เป็น ดูแลซ่อมแซมเครื่องจักรเองไม่ได้ น้ำมันที่ต้องใช้เป็นเชื้อเพลิงก็ต้องซื้อหามาทั้งหมด ชาวนาที่เริ่มทำงานด้วยเครื่องจักร จึงต้องเริ่มด้วยการเป็นหนี้



















ดู 1,887 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page